สารานุกรมบริแทนนิกา

สารานุกรมองค์ความรู้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ เผยแพร่ครั้งแรกที่ประเทศสก็อตแลนด์ใน ค.ศ. 1768

สารานุกรมบริตานิกา (อังกฤษ: Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน บทความภายในสารานุกรมบริตานิกาเน้นที่การให้ความรู้แก่ผู้อ่านวัยผู้ใหญ่ เขียนขึ้นจากทีมงานที่ประกอบด้วยบรรณาธิการที่ทำงานเต็มเวลากว่า 100 คน และผู้เขียนบทความซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 4,000 คน เป็นสารานุกรมที่ได้รับความนิยมและใช้อ้างอิงทางวิชาการมากที่สุด[1][2]

สารานุกรมบริตานิกา
Encyclopædia Britannica  
Encylopædia Britannica ฉบับพิมพ์ใหม่ของอเมริกัน (1899)
ผู้ประพันธ์ฉบับ ค.ศ. 2008 มีผู้เขียนที่ปรากฏชื่อ 4,411 คน
ประเทศสหราชอาณาจักร (1768-1900)
สหรัฐอเมริกา (1901-ปัจจุบัน)
ภาษาอังกฤษ
หัวเรื่องทั่วไป
ประเภทเอนไซโคลพีเดียสำหรับงานอ้างอิง
สำนักพิมพ์Encyclopædia Britannica, Inc.
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1768 – ปัจจุบัน
ชนิดสื่อฉบับ ค.ศ. 2008 มี 32 volumes (ปกแข็ง)
ISBNISBN 1-59339-292-3 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBNT}}: invalid character
OCLC71783328

สารานุกรมบริตานิกาเป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังตีพิมพ์อยู่จนถึงปัจจุบัน[3] โดยตีพิมพ์เป็นครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1768 และ 1771 ที่เมืองเอดินเบอระ สก็อตแลนด์ และเติบโตทั้งขนาดและความนิยมมาเป็นลำดับ ฉบับแก้ไขครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1801 มีการตีพิมพ์เป็นจำนวนมากกว่า 21 เล่มชุด[4][5] (คือมี 21 เล่มใน 1 ชุด) ผลจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้เป็นที่สนใจของนักเขียนบทความเพิ่มมากขึ้น ในการปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 9 (1875-1889) และครั้งที่ 11 (1911) ถือเป็นสารานุกรมฉบับที่โดดเด่นที่สุดสำหรับนักวิชาการและผู้ชื่นชอบวรรณศิลป์[4] นับแต่ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 11 เป็นต้นมา สารานุกรมบริตานิกาก็เริ่มเขียนบทความให้สั้นลงและกระชับขึ้นเพื่อเข้าสู่ตลาดในอเมริกาเหนือ[4] ปี ค.ศ. 1933 สารานุกรมบริตานิกาเป็นสารานุกรมแห่งแรกที่ประกาศนโยบาย "การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง" โดยมีการพิมพ์ซ้ำและปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในบทความให้ทันสมัยอยู่ตลอดตามตารางกำหนดเวลาที่แน่นอน[5]

ฉบับพิมพ์ปัจจุบันและฉบับสุดท้ายเป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 15 ประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ส่วนแรกมี 12 เล่มชุด ชื่อ Micropædia เป็นบทความสั้น (ส่วนมากมีความยาวน้อยกว่า 750 คำ) ส่วนที่สองมี 17 เล่มชุด ชื่อ Macropædia เป็นบทความยาว (มีความยาวตั้งแต่ 2 ถึง 310 หน้าต่อบทความ) และส่วนสุดท้ายเป็นเอกเทศชื่อ Propædia จัดทำเพื่อเรียบเรียงความรู้ของมนุษยชาติในรูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น วัตถุประสงค์ของ Micropædia มีเพื่อการตรวจสอบอย่างรวดเร็วและช่วยในการค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมใน Macropædia ผู้อ่านสามารถศึกษาโครงสร้างบทความใน Propædia ก่อนก็ได้เพื่อทำความเข้าใจกับบริบทของเรื่องที่ต้องการศึกษาและจะได้ค้นหาส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องได้ง่าย[6] สารานุกรมบริตานิกามีขนาดค่อนข้างคงที่มาตลอดเวลากว่า 70 ปี โดยมีความยาวประมาณ 40 ล้านคำ จำนวนบทความประมาณ 500,000 เรื่อง[7] หลังจากปี ค.ศ. 1901 ฐานการตีพิมพ์ก็ย้ายมายังสหรัฐอเมริกา แต่กระนั้นสารานุกรมบริตานิกายังคงยึดหลักการสะกดคำตามแบบอังกฤษดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด[1]

ตลอดเส้นทางประวัติศาสตร์ของสารานุกรมบริตานิกา ได้ผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากในการสร้างผลกำไร ซึ่งเป็นปัญหาปกติทั่วไปของสารานุกรมทั้งหลาย[3] บทความบางเรื่องในช่วงต้นของบริตานิกาเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ถูกต้อง มีอคติ หรือเขียนขึ้นโดยผู้เขียนที่ไม่มีความรู้เพียงพอ[4][8] จวบจนถึงปัจจุบันก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องแม่นยำของเนื้อหาในสารานุกรมอยู่[1][9] แม้ว่าคณะผู้บริหารบริตานิกาจะท้าให้เหล่านักวิจารณ์ชี้ชัดออกมาให้รู้แน่[10] อย่างไรก็ดี แม้จะมีข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร สารานุกรมบริตานิกาก็ยังคงเป็นที่ยอมรับทั่วไปในฐานะแหล่งอ้างอิงงานวิจัยที่เชื่อถือได้

เดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 ประธานของบริตานิกา จอร์จ เคาซ์ ประกาศว่าจะหยุดผลิตฉบับพิมพ์เพิ่มเติม โดยฉบับปรับปรุงครั้งที่ 15 พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2010 เป็นฉบับสุดท้าย เนื่องจากในปี 2010 ยอดขายลดลงจนเหลือเพียง 8,000 ชุด หลังจากนั้นบริษัทจะหันไปเน้นเฉพาะฉบับออนไลน์และอุปกรณ์การศึกษาอื่นเท่านั้น[11][12]

ประวัติ

บริตานิกาถูกเปลี่ยนมือมาหลายต่อหลายครั้ง ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบริตานิกามาก่อนได้แก่ สำนักพิมพ์สัญชาติสก๊อต เช่น A & C Black, Horace Everett Hooper, Sears Roebuck and William Benton เป็นต้น เจ้าของบริตานิกาคนปัจจุบันคือ Jacqui Safra นักแสดงและมหาเศรษฐีชาวสวิส ซึ่งเป็นเจ้าของ Encyclopædia Britannica, Inc. จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับการเติบโตของสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่ง เช่น Microsoft Encarta และ วิกิพีเดีย ทำให้ความจำเป็นในการตีพิมพ์สารานุกรมลดน้อยลง[13] ดังนั้นเพื่อให้ดำรงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ Encyclopædia Britannica, Inc. จึงชูความน่าเชื่อถือของสารานุกรมบริตานิกาเป็นหลัก ลดราคาและลดต้นทุนการผลิตลง รวมถึงพัฒนาสารานุกรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมบนซีดีรอม ดีวีดี และเวิลด์ไวด์เว็บ นับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 บริษัทยังเพิ่มการประชาสัมพันธ์งานอ้างอิงรูปแบบอื่นๆ มากขึ้นด้วย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Kister, KF (1994). Kister's Best Encyclopedias: A Comparative Guide to General and Specialized Encyclopedias (2nd ed.). Phoenix, AZ: Oryx Press. ISBN 0897747445.
  2. Sader, Marian (1995). Encyclopedias, Atlases, and Dictionaries. New Providence, NJ: R. R. Bowker (A Reed Reference Publishing Company). ISBN 0-8352-3669-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. 3.0 3.1 "Encyclopedias and Dictionaries". Encyclopædia Britannica. Vol. 18 (15th edition ed.). Encyclopædia Britannica, Inc. 2007. pp. 257–286. {{cite encyclopedia}}: |edition= has extra text (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Kogan, Herman (1958). The Great EB: The Story of the Encyclopædia Britannica. Chicago: The University of Chicago Press. LCCN 58-0 – 00.
  5. 5.0 5.1 "Encyclopædia". Encyclopædia Britannica (14th edition ed.). 1954. {{cite encyclopedia}}: |edition= has extra text (help) Aside from providing an excellent summary of the Britannica's history and early spin-off products, this article also describes the life-cycle of a typical Britannica edition. A new edition typically begins with strong sales that gradually decay as the encyclopaedia becomes outdated. When work on a new edition is begun, word leaks out and sales of the old edition effectively stop, just at the time when the fiscal needs are greatest: a new editorial staff must be assembled, articles commissioned, etc. Elkan Harrison Powell identified this cyclic fluctuation of income as a key danger to the fiscal health of any encyclopaedia, one that he hoped to overcome with his innovative policy of continuous revision.
  6. The New Encyclopædia Britannica (15th edition, Propædia ed.). 2007. pp. 5–8.
  7. The New Encyclopædia Britannica (15th edition, Index preface ed.). 2007.
  8. Burr, George L. (1911). "The Encyclopædia Britannica: A Dictionary of Arts, Sciences, Literature and General Information". American Historical Review. 17: 103–109. doi:10.2307/1832843.
  9. Giles, Jim (2005-12-15). "Internet encyclopedias go head to head". Nature. 438: 900–901. doi:10.1038/438900a. สืบค้นเมื่อ 2006-10-21.
  10. "Fatally Flawed: Refuting the recent study on encyclopedic accuracy by the journal Nature" (PDF). Encyclopedia Britannica, Inc. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-10-21. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  11. Bosman, Julie (13 March 2012). "After 244 Years, Encyclopædia Britannica Stops the Presses". New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 March 2012. {{cite news}}: ระบุ |author= และ |last= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  12. Pepitone, Julianne (13 March 2012). "Encyclopedia Britannica to stop printing books". CNN. สืบค้นเมื่อ 14 March 2012.
  13. Day, Peter (17 December 1997). "Encyclopaedia Britannica changes to survive". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27. Sales plummeted from 100,000 a year to just 20,000.

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ