ข้ามไปเนื้อหา

ปราการ ชลยุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราการ ชลยุทธ
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าวลิต โรจนภักดี
ถัดไปวิวรรธน์ ปฐมภาคย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26
ชื่อเล่นตี๋
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
กองบัญชาการกองทัพไทย
ยศ พลเอก

พลเอก ปราการ ชลยุทธ เป็นนายทหารชาวไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตรองเสนาธิการทหาร, และอดีตผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 อดีตกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.อ.ปราการ เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า ตี๋ บรรดาสื่อมวลชนจึงมักจะเรียกท่านว่า บิ๊กตี๋

การศึกษา

[แก้]

พล.อ.ปราการ จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และจบการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกับ พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3

การทำงาน

[แก้]

ราชการทหาร

[แก้]

พล.อ.ปราการ ขณะมียศเป็น พลตรี เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 และได้ขึ้นเป็นกองทัพภาคที่ 4 แทน พล.ท. วลิต โรจนภักดี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ราชการพิเศษ

[แก้]

พล.อ. ปราการ ชลยุทธ มีราชการพิเศษ ดังนี้

  • ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • อดีตกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[1]
  • เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[2]
  • ราชองครักษ์พิเศษ[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๗/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง หน้า ๑๗, ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๖๒ ง หน้า ๑๕, ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายทหารราชองครักษ์พิเศษ และนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ, เล้ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๙๒ ง หน้า ๑, ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๖๐, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒๔๗, ๒ กันยายน ๒๕๕๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๙, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗