ข้ามไปเนื้อหา

สุทัศน์ เงินหมื่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุทัศน์ เงินหมื่น
สุทัศน์ ในปี พ.ศ. 2553
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 กันยายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการชวน หลีกภัย
(2531 - 2532)
มารุต บุนนาค
(2532 - 2533)
ก่อนหน้าวัชรินทร์ เกตะวันดี
ถัดไปเอนก ทับสุวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการเอนก ทับสุวรรณ
ก่อนหน้าเจริญ คันธวงศ์
ถัดไปวโรทัย ภิญญสาสน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการชวลิต ยงใจยุทธ
(2535 - 2537)
สนั่น ขจรประศาสน์
(2537 - 2538)
ก่อนหน้าเอนก สิทธิประศาสน์
ถัดไปเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
อำเภอชานุมาน
จังหวัดอำนาจเจริญ
พรรคการเมืองสังคมนิยมแห่งประเทศไทย (2518–2519)
ประชาธิปัตย์ (2519–ปัจจุบัน)
คู่สมรสมลิวัลย์ เงินหมื่น[1]

สุทัศน์ เงินหมื่น (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

สุทัศน์ เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนที่ 9 จากจำนวนพี่น้อง 10 คนของนายสิริ กับนางจันทร์ทอง เงินหมื่น ด้านครอบครัวกับนางมลิวัลย์ เงินหมื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุบลราชธานี มีบุตรคือ อภิวัฒน์ เงินหมื่น อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน

[แก้]

สุทัศน์ เข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ขณะที่สมคิด ศรีสังคม เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 1 สมัย และย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เหตุว่าพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยถูกยุบ และได้รับเลือกตั้งเป็น สส.ในพื้นที่ภาคอีสานของพรรคประชาธิปัตย์ (จังหวัดอุบลราชธานีและภายหลังแยกเขตจังหวัดอำนาจเจริญ) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ถึง พ.ศ. 2539 โดยขณะที่ดำรงตำแหน่งสส.ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวงได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลชวน หลีกภัย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และเป็นตัวแทนของพรรคที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ในการเลือกตั้ง ปี 2544 สุทัศน์ย้ายไปลงสมัคร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้ง

ในกลางปี พ.ศ. 2550 มีข่าวว่าสุทัศน์ พร้อมด้วยลูกชาย และอิสสระ สมชัย อดีต สส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ จะย้ายไปสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ทางนายสุทัศน์ วิฑูรย์ นามบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง[2]

ในการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายสุทัศน์รับผิดชอบดูแลการเลือกตั้งของ พรรคประชาธิปัตย์ ในโซน 3 (ภาคอีสานตอนบน รวม 10 จังหวัด)

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายสุทัศน์ เงินหมื่น ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงสาธารณสุข[3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 นายสุทัศน์ได้ขยับขึ้นเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อแทนนายอภิสิทธิ์ที่ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ก่อนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีโดยให้มีผลตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 [5] [6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สุทัศน์ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 17 [7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

สุทัศน์ เงินหมื่น ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 12 สมัย คือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สุทัศน์ เงินหมื่น
  2. ""มาร์ค" ปัดข่าว "สุทัศน์" ทิ้งพรรค จี้ "หมัก" ยื่นเอกสารรัฐสอบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
  3. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. "สุทัศน์ เงินหมื่น" ว่าที่ ส.ส. แทน "อภิสิทธิ์" หลังประกาศลาออก
  6. "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-06. สืบค้นเมื่อ 2019-06-06.
  7. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  8. "เลือกตั้ง 2566 : กกต. รายงานผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการครบ 400 เขต ก้าวไกลเหลือ 151 ส.ส." BBC News ไทย. 2023-05-25.
  9. "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-06. สืบค้นเมื่อ 2019-06-06.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓