ข้ามไปเนื้อหา

ยาม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ย่าม

ภาษาไทย

[แก้ไข]
ยาม (5)

รากศัพท์

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี ยาม

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ยาม[เสียงสมาส]
ยา-มะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyaamyaa-má-
ราชบัณฑิตยสภาyamya-ma-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/jaːm˧/(สัมผัส)/jaː˧.ma˦˥./

คำนาม

[แก้ไข]

ยาม

  1. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี 8 ยาม
  2. ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น 3 ยาม ยามหนึ่งมี 4 ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม
  3. (โหราศาสตร์) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี 8 ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี 8 ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ
  4. คราว, เวลา
    ยามสุข
    ยามทุกข์
    ยามเช้า
    ยามกิน
  5. คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม
    แขกยาม
    ไทยยาม
    คนยาม

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຢາມ (อยาม), ภาษาไทดำ ꪤꪱꪣ (หฺยาม)

คำกริยา

[แก้ไข]

ยาม (คำอาการนาม การยาม)

  1. (สกรรม) เยี่ยมเยียน