ข้ามไปเนื้อหา

สาโท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
สาโทไทย

สาโท หรือ น้ำขาว คือ สุราแช่ประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวชนิดต่างๆ ที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้ง หรือเชื้อราและยีสต์ เพื่อเปลี่ยนแป้งในข้าวให้เป็นแอลกอฮอล์ โดยสาโทที่ผ่านกระบวนการหมักแล้วจะมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี [1]

สาโทเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว (Rice Wine) ที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น ถ้านำไปกลั่นก็จะได้เป็นเหล้าขาว นิยมผลิตกันในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน,เกาหลี,ญี่ปุ่น และไทย โดยจะมีชื่อเรียกต่างกันไป [2]

ในประเทศไทยนั้นจะนิยมผลิตสาโทเพื่อเป็นเครื่องดื่มในเทศกาล งานเลี้ยงต่างๆ ซึ่งสาโทที่ผลิตจะมีรสหวาน เพราะกระบวนการหมักยังไม่สิ้นสุด และจะเก็บไว้ไม่ได้นาน แต่บางพื้นที่จะหมักจนน้ำใสและมีตะกอน ซึ่งจะได้แรงแอลกอฮอล์สูงขึ้นจนสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น หรือนำไปกลั่นเป็นเหล้าขาว [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน: สาโท" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.
  2. การทำเหล้า หมักเหล้า สาโท สุรา
  3. "เว็บไซต์สุราไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.